วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

E-book กับสุขภาพของผู้อ่าน

*Bongkoch Prakittikul*

ในปัจจุบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำ วัน ของมนุษย์เราหลายต่อหลายด้าน ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนถูกประดิษฐ์คิดค้นหรือพัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกับ คอมพิวเตอร์ได้ เพื่อเสริมสร้างความสะดวกสบายให้กับมนุษย์ หนังสือก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ถูกพัฒนาให้สอดคล้องกับกับโลกของเทคโนโลยีใน ปัจจุบัน จากที่ใช้กระดาษในการบันทึก หรือตีพิมพ์เป็นหนังสือ มาเป็นการบันทึกลงบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบดิจิทัล ที่เรียกว่า “E-book”เพื่อ ประโยชน์ในการเผยแพร่ทางอินเทอร์เนต และเพื่อความสะดวกสบายในการพกพา ฯลฯเรียก ได้ว่ามีคุณประโยชน์มากมาย จนถึงมีการกล่าวกันว่า E-bookจะมา แทนที่ หนังสือที่พิมพ์ลงบนกระดาษ ซึ่งก็แน่นอนว่า E-bookมี ข้อดีมากมายที่ทุกคนยอมรับ แต่ในทางกลับกันนั้น มันก็ย่อมที่จะมีผลเสียหรือผลกระทบกับผู้ที่ใช้มันด้วยเช่นเดียวกัน




E-book (electronic book)คือ



ความ หมายของ E-book ใน ภาษาอังกฤษคือ A digital version of a tradition print book designed to be read on a personal computer or an e-book reader (a software application for use on a standard-sized computer or a book-sized computer used solely as a reading device)

และสำหรับความหมายในภาษาไทยนั้น Ebookอีบุ๊ก, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ได้รับการแปลงลงบนสื่อบันทึกด้วยระบบดิจิทัล เช่น ซีดี-รอม หรือหนังสือที่พิมพ์ลงบนสื่อบันทึกด้วยระบบดิจิทัลแทนที่จะพิมพ์ลงบนกระดาษ เหมือนสิ่งพิมพ์ธรรมดาหรือ อีกคำนิยายหนึ่ง คือ “e-bookย่อ มาจากelectronic book, เป็นหนังสือออน์ไลน์สามารถดาวน์โหลดมาอ่านผ่าน ทางเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ เช่น ปาล์ม หรือ พ็อกเก็ตพีซีได้

จาก ความหมายเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าการที่เราจะสามารถอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ E-bookได้ นั้น ก็จะต้องอ่านผ่านทางจอภาพของอุปกรณ์หรือเครื่องที่ใช้สำหรับอ่าน เป็นพวกcomputer screen deviceเช่น desktops, laptops, palm handhelds, pocket PCs, E-book Reader, personal digital assistants (PDAs), smart cell phones


อุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น ล้วนมีขนาดจอภาพที่เล็ก มีขนาดประมาณ 7x5 นิ้ว ,9x7, 5.2x3.4นิ้ว ดังนั้น ตัวอักษรหรือข้อความที่ปรากฏก็มีขนาดเล็กตามไปด้วยทำ ให้การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากจอ นั้นอ่านได้ยากลำบากกว่าการอ่านจากกระดาษ


Shelburne, W.A ได้ทำการศึกษาและสอบถามทัศนคติ เกี่ยวกับการเปรียบเทียบ E-book(หนังสืออิเล็กทรอนิกส์)กับ Print book (หนังสือที่อยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์) จากการสอบถามอาสาสมัคร ผลปรากฏออกมาว่า ผู้อ่านตัดสินใจว่า E-book จะดีกว่า Print book ในกรณีที่ว่า E-book นั้นสามารถพกพาได้ง่ายมีน้ำหนักเบา และสะดวกในการทำสำเนา แต่เมื่อกล่าวถึงในกรณีของความง่ายสะดวกสบายต่อสายตาในการอ่าน และความเพลิดเพลิน ผู้อ่านจะตัดสินใจว่า Print bookจะดีกว่าE-book

จาก การศึกษาดังกล่าว จะเห็นได้ว่า E-bookนั้นมีจุดด้อยอยู่ที่ การอ่าน ซึ่งการอ่านจะทำได้ยากลำบากมากกว่าการอ่านจากกระดาษ และด้วยเหตุผลนี้เอง ผู้อ่านจึงต้องใช้สายตาในการเพ่งมองมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้อ่านได้





ผลกระทบที่เกิดกับผู้ อ่าน E-book



ารที่ ผู้อ่านจะต้องอ่านหรือเพ่งมองตัวอักษรอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในจอ เป็นระยะเวลานาน ปัญหาความล้าของสายตาและอาการปวดศีรษะ จึงเกิดขึ้นได้ง่ายมาก เพราะจอภาพเป็นแหล่งของแสงสว่าง ซึ่งแสงสว่างเหล่านี้จะสะท้อนเข้าตาของเราขณะที่อ่าน ทำให้สายตาต้องปรับตัวตลอดเวลา อีกทั้งจอภาพเหล่านั้นจะมีการ refresh(การ กระพริบของจอภาพ)อยู่ตลอดเวลา ซึ่งแตกต่างจากหนังสือที่ทำจากกระดาษที่ไม่มีการ refreshไม่ มีการเปล่งแสงที่จ้าออกมา และในปัจจุบันก็ได้มีการให้กระดาษถนอมสายตา เพื่อลดการสะท้อนแสงเข้าสู้ดวงตาอีกด้วย การเพ่งนานๆอาจจะทำให้ตาแห้ง เกิดอาการระคายเคืองที่ตา ส่งผลให้บางคนมีอาการผิดปกติทางตาชั่วคราว และคนที่มีความผิดปกติทางสายตาอยู่แล้วก็จะยิ่งเป็นมากขึ้น อาจจะนำไปสู่การเป็นโรค CVS (Computer vision syndrome)ได้




Computer vision syndrome คือ

องค์การ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับนัยน์ตาThe American Optometric Association (AOA)ได้ นิยายความหมายของcomputer vision syndrome (CVS)ไว้ ว่า“the complex of eye and vision problems related to near work which are experienced during or related to computer use”หมาย ความว่าเป็น ปัญหาที่เกิดขึ้นกับนัยน์ตาและการมองเห็น อันเกิดเนื่องมาจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์


ลักษณะอาการของ CVS (Computer vision syndrome)

อาการ ของ โรค Computer vision syndrome สามารถ แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มอาการหลัก คือ

  1. Eye strain, tried eyeหมายถึง อาการดวงตาตึงเครียดหรือดวงตาล้า
  2. Ocularsurfaceหมาย ถึง อาการที่เกี่ยวกับดวงตา ได้แก่ อาการแสบตา เคืองตา ตาแดง ดวงตาแห้ง น้ำตาไหลมาก ซึ่งอาหารเหล่านี้เป็นภาวะที่ผิดปกติ
  3. Blurred visionหมาย ถึง อาการตามัวหรือมองภาพไม่ชัด มีทั้งการมองเห็นระยะใกล้ๆเบลอเป็นระยะๆ และการมองเห็นระยะไกลๆ นานๆครั้ง
  4. Double visionหมาย ถึง อาการมองเห็นภาพซ้อน

และนอกจากอาการที่ปรากฏทางดวงตา แล้ว ยังมีอาการอย่างอื่นที่เกิดขึ้นกับร่างกายอีก เช่น อาการปวดต้นคอ ปวดศีรษะ ปวดข้อมือ ปวดคอ และหลัง

สาเหตุ ของอาการเหล่านี้ เกิดจากการกระพริบของดวงตาลดลงเนื่อง จากขณะที่เราดูหรือจ้องมองจอคอมพิวเตอร์นั้น การกระพริบตาของเราจะลดลงโดยอัตโนมัติ และดวงตาจะต้องเบิ่งกว้างกว่าการอ่านหนังสือ เนื่อง จากในหนังสือปกตินั้น ตัวอักษรจะเข้มและมีขอบที่ชัดเจน แต่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้น จะขาดความชัดเจนของตัวอักษรและขอบ โดยส่วนใหญ่จะเข้มบริเวณตรงกลางแล้วค่อยๆ จางลงตรงขอบ ทำให้สายตาของเรายากที่จะปรับโฟกัสได้และการที่ดวงตาต้องเบิ่ง กว้างกว่าปกตินั้น จะทำ ให้ตามี บริเวณที่สัมผัสอากาศมากกว่าจึงทำให้ตาแห้งส่งผลถึงน้ำตาที่หล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้ตาแห้งหรือระคายเคืองตา เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะดวงตาตรึงเครียดได้

ทัศนีย์ ศิริกุล และ โกศล คำพิทักษ์ ได้ศึกษาหาความชุก และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเกิดสภาวะ Computer vision syndrome (CVS)ในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์, ความถี่ของการใช้คอมพิวเตอร์, ปัญหา ทางตาที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์ โดยแบ่งอาการออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) อาการปวดตา 2) แสบตา 3) ตามัว และ4) มองเห็นภาพซ้อน จากการศึกษาผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวน 600 คน พบว่ามีปัญหา CVS88% อาการ ปวดตาพบบ่อยที่สุด และปัญหาแสบตา ตามัว และมองเห็นภาพซ้อนตามลำดับ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีมีแนวโน้มจะมีอาการ CVSมากกว่า ผู้ที่อายุน้อยกว่า 40ปี

ดัง นั้น หากต้องการจะอ่านนวนิยายที่มีความหลายหน้า ผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็จะต้องใช้ระยะเวลานานหลายชั่วโมง และถ้าผู้อ่านมีอายุที่มากด้วยแล้ว การอ่านE-book ย่อม เป็นปัญหาสำหรับคนกลุ่มนี้อย่างแน่นอน

กล่าวโดยสรุป แม้ว่าE-bookจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีข้อดีมากมาย แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้นั้น จะเป็นผลเสียต่อสุขภาพของผู้อ่าน ทั้งทางด้านสายตา และอาการเมื่อยล้าตามร่างกาย จากจุดด้อยเหล่านี้เอง ทำให้ E-bookจึง ไม่ได้รับความนิยมมากนัก ผู้คนยังจะเลือกที่อ่านหนังสือที่เป็นกระดาษอยู่ และคาดว่าจะเป็นเช่นนี้ต่อไป ตราบใดที่E-bookยัง ไม่สามารถพัฒนาหรือแก้ไขจุดบกพร่องเหล่านี้ได้


บรรณานุกรม



กิดา นันท์ มลิทอง. อธิบายศัพท์คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เนต มัลติมิเดีย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. น.147

ทัศนีย์ ศิริกุล.Prevalence of computer vision syndrome in computer users. วารสาร จักษุธรรมศาสตร์1, 1 (ม.ค.-มิ.ย.

2549):น. 21-28

ปฏิวัติ e-book ฤาจะเป็นจุดจบของหนังสือ?.Marketeer 1, 10 (ธ.ค. 2543): น.66-69

พจนานุกรม คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2545. น.132

พสุ เดชะรินทร์.“โรคร้ายในยุคไซเบอร์.”กรุงเทพธุรกิจ (19 กุมภาพันธ์ 2551):น.9

โสฬส วุฒิพันธุ์. Computer vision syndrome.” <www.doctor.or.th/node/7253.> 7สิงหาคม 2552.

อาภรณ์ ไชยสุวรรณ. “E-book: รูปแบบใหม่ในการ อ่านหนังสือ.< http://www.bb.go.th/

information/library/lbb/om/omweb/html/yiam/ext/lbr/nanasara.html> 26 กันยายน 2552.

“Ergonomic Problems - Eye Strain.”<http://www.safecomputingtips.com/ergonomic -problems-eye.html>.

2 สิงหาคม 2552.

Reitz, john M. Dictionary for library and information science. Westport, Conn. :

Libraries Unlimited, 2004. p.243

Shelburne, W.A. “E-book usage in an academic library: User attitudes and

behaviors.” Library Collections, Acquisitions, & Technical Services

(2009)

Zheng Yanet al. “Computer Vision Syndrome: A widely spreading but largely

unknown epidemic among computer users.” Computers in Human

Behavior 24 (2008): p.2026–2042

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น